การทำเว็บไซต์สองภาษาฟังดูเหมือนจะยาก แต่จริงๆ แล้วไม่ได้ทำยากขนาดนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้ WordPress ทุกอย่างก็กลายเป็นเรื่องง่ายได้เพียงเลือกใช้ปลั๊กอินที่มีคุณภาพและเหมาะสมกับจุดประสงค์ในการใช้งานของเรา ซึ่งการทำเว็บไซต์สองภาษาบน WordPress ด้วยปลั๊กอินยอดนิยมมากที่สุดนั้นก็เห็นจะหนีไม่พ้น Polylang
บทความนี้เราจะพาทุกคนไปดูกันว่าถ้าอยากทำเว็บไซต์สองภาษาด้วย Polylang ต้องเริ่มต้นยังไง
ก่อนอื่นมาทำความรู้จักปลั๊กอิน Polylang กันก่อน
Polylang
Polylang เป็นปลั๊กอินที่มีผู้ใช้ที่ยังใช้งานแบบ active มากกว่า 500,000+ คน เรียกได้ว่าเป็นที่นิยมเกือบจะที่สุดในบรรดาปลั๊กอินประเภทเดียวกัน
Polylang จะช่วยให้คุณสามารถเปลี่ยนเว็บไซต์ให้มีหลายภาษาได้ ทั้งยังจะช่วยแปลเนื้อหาให้ด้วย แต่ถ้าเราไม่ไว้ใจเรื่องความแม่นยำการแปลแบบ automatic ของปลั๊กอิน เราสามารถใส่เนื้อหาอีกภาษาแบบ manual ได้ไม่มีปัญหา เพียงแค่ปลายคลิกเท่านั้น
จุดเด่นของ Polylang:
- ซัพพอร์ตการแปลทั้งแบบ automatic และแบบ manual
- เพิ่มภาษาได้ไม่จำกัด
- เชื่อมต่อกับระบบการจัดการการแปลที่ช่วยให้คุณสามารถติดต่อพูดคุยกับนักแปลที่จะมาช่วยแปลเว็บไซต์ของคุณได้
ข้อดี-ข้อเสียของ Polylang:
ข้อดี: Polylang มีภาษาให้เลือกเยอะและครอบคลุม อีกทั้งยังสามารถเพิ่มภาษาได้ไม่จำกัด ทำให้เหมาะมากกับเว็บไซต์ที่อยากรอบรับให้ได้หลายภาษา
ข้อเสีย: ยิ่งเพิ่มภาษาเยอะอาจจะยิ่งทำให้ใช้งานได้ยุ่งยากขึ้น อาจจะต้องเรียนรู้วิธีการใช้งานให้เยอะเพื่อที่จะได้ไม่สับสน
สร้างเว็บไซต์สองภาษาด้วย Polylang
หลังจากที่ได้รู้จักตัวปลั๊กอินไปแล้ว ทีนี้ก็ได้เวลามาดูกันแล้วว่าถ้าอยากจะทำเว็บไซต์ให้เป็นสองภาษาต้องทำยังไง
อย่างที่ได้บอกไปแล้วข้างต้นว่า Polylang สามารถสร้างการแปลเนื้อหาเว็บให้ไปเป็นอีกภาษาได้หลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นให้แปลอัตโนมัติ (automatic) จ้างนักแปล หรือแบบทำเอง (manual)
โดยที่ในบทความนี้เราจะมาดูวิธีการใช้งานแบบ manual กัน
การติดตั้งปลั๊กอิน
Plugins > Add New > ค้นหาด้วยคำว่า Polylang > กด Install Now
การเพิ่มภาษา
Languages > Languages (ถ้าไม่เจอ Languages ให้ไปดูว่าที่ Setting > Languages ว่ามีไหม)
เลือกที่ Choose a language เพื่อเลือกภาษาที่อยากจะเพิ่มเข้าไปในเว็บไซต์
เมื่อเลือกแล้วช่องว่างข้างล่างที่เหลือจะตั้งค่าเองโดยอัตโนมัติโดยที่เราไม่ต้องไปยุ่งหรือทำอะไรกับมันเลยก็ได้
จากนั้นให้เลือก Add new language จากนั้นภาษาที่เราเลือกก็จะขึ้นมาอยู่ตรงช่องค่าเริ่มต้นที่อยู่ด้านข้าง
การเลือกภาษาเมื่อเพิ่มเนื้อหาหรือแก้ไขเนื้อหาใน Posts หรือ Pages
ทีนี้พอออกไปจากหน้านี้เพื่อไปโพสเนื้อหาใหม่ใน Posts หรือ Pages จะเห็นว่ามีกล่องภาษาข้างๆ ขึ้นมาให้เลือก เพื่อให้เรารู้ว่าเราจะกำลังทำการแก้ไขหน้าที่เป็นภาษาไหนอยู่นั่นเอง
หากคลิกที่สัญลักษณ์ + ด้านข้างรูปธงชาติก็จะเท่ากับการสร้างเพจนั้นๆ ในอีกภาษานั่นเอง โดยจะเป็นแยกหน้าออกไปให้เราใส่เนื้อหาเอง
การเปิดการตั้งค่าการเปลี่ยนภาษา
❶ ตัวเลือกนี้จะให้เราเลือกว่าอยากให้ตัวเปลี่ยนภาษาเป็น List หรือเป็น Drop Down (ถ้าเลือกช่องนี้คืออยากให้เป็น Drop Down) ซึ่งแบบ Drop Down จะไม่มี Icon ธงชาติ จะมีแต่ชื่อภาษาบอก
❷ ตัวนี้จะถูกเช็คมาให้อยู่แล้ว เปลี่ยนการเลือกเพื่อให้ตัวเปลี่ยนภาษาโชว์ชื่อเต็มของภาษานั้นๆ
❸ ตัวเลือกนี้จะให้เราสามาถเลือกแสดง/ไม่แสดง Icon ธงชาติที่เกี่ยวข้องกับภาษานั้นๆ ได้
❹ ไม่แนะนำให้เช็คอันนี้ เพราะถ้าเช็ตอันนี้แล้วผู้เข้าชมเว็บจะถูกส่งไปเริ่มต้นใหม่ที่โฮมเพจทุกครั้งที่เปลี่ยนภาษา แม้ว่านั้นๆ จะถูกแปลแล้วก็ตาม แต่ต้องกลับเริ่มต้นใหม่ที่โฮมเพจ แทนที่จะดึงข้อมูลของหน้านั้นอีกภาษามาให้เลย ซึ่งจะเป็นการทำให้ผู้ชมเว็บเกิดความสับสน หรือรำคาญใจได้
❺ เช็คอันนี้เมื่ออยากซ่อนภาษาปัจจุบัน (เช่น เมื่อชมเนื้อหาอยู่ในเพจภาษาไทย ก็จะไม่เห็นตัวเลือกภาษาไทย จะเห็นตัวเลือกภาษาอื่นแทน)
❻ ให้ซ่อนภาษาเมื่อยังไม่มีการแปลเป็นภาษานั้นๆ
ต่อไปในการเพิ่มวิดเจ็ตอื่นๆ แล้วจะตั้งค่าให้เป็นอีกภาษาก็สามารถทำได้โดยง่ายตามภาพประกอบด้านล่างนี้เลย
สรุป
เพียงแค่ติดตั้งปลั๊กอินง่ายแค่นี้ก็สามารถทำให้เว็บไซต์กลายเป็นเว็บที่มีหลายภาษาได้แล้ว ทำตามกันได้ไม่อยากเลยใช่ไหมเอ่ย ทีนี้งานหินน่าจะอยู่ที่การแปล เรียบเรียงภาษาให้น่าอ่านแล้วหล่ะ เพราะต่อให้มีหลายภาษา แต่ถ้าภาษานั้นๆ ที่เราเพิ่มเข้ามาไม่ถูกต้องตามหลัก ทำให้เจ้าของภาษาอ่านไม่เข้าใจก็จะไร้ความหมายไปทันที
ท้ายสุด สำหรับหลายคนที่กำลังเริ่มทำเว็บไซต์ หรือกำลังอยากย้ายโฮสติ้งพอดี อย่าลืมแวะไปดูแพ็กเกจเว็บโฮงติ้งจาก VPS Hispeed กันนะ แพ็คเกจของเรามีหลากหลาย รองรับลูกค้าหลายประเภท แม้จะเป็นมือใหม่ก็ใช้งานได้ไม่ยาก สนใจติดต่อที่อีเมล [email protected] หรือทางเบอร์โทรศัพท์ 093 173 0181, 096 238 7242, 082 018 9138