มาดูวิธีเลือกเว็บโฮสติ้ง (Web Hosting) ต้องเลือกยังไง?

ในการทำเว็บไซต์นั้นก่อนจะใช้งานได้จะต้องมีการฝากไฟล์ของเว็บไซต์ไปบนเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งเรียกว่า เว็บโฮสติ้ง (Web Hosting) ซึ่งเจ้าเว็บโฮสติ้งนั้นมีหลายแบบให้เลือกสรรให้เหมาะกับความต้องการเฉพาะของแต่ละเว็บไซต์

เกี่ยวกับเว็บโฮสติ้ง (Web Hosting)

  • ความหมายของเว็บโฮสติ้ง (Web Hosting) คือเป็นการเช่าทรัพยากรบนเซิร์ฟเวอร์เอาไว้ฝากไฟล์ และข้อมูลต่างๆ ของเว็บไซต์ ทุกอย่างจะถูกถ่ายโอนผ่านตัวเซิร์ฟเวอร์ 
  • เซิร์ฟเวอร์นั้นมีจะมีลักษณะทางกายภาพเป็นเครื่องขนาดใหญ่ ซึ่งเครื่องนี้เราที่เป็นผู้เช่าจะไม่สามารถที่จะเอาเครื่องมาเป็นของตัวเองแต่อย่างใด ตัวเครื่องจะอยู่ที่ผู้ให้บริการ และผู้ให้บริการจะเป็นผู้จัดการดูแลเครื่องทั้งหมด ตัวเราจะได้ใช้ทรัพยากรบนเครือข่ายนั้นเท่านั้น
  • ผู้เช่าโฮสติ้งอย่างเราจะเสียค่าบริการในการเช่าเป็นรายเดือน หรือรายปี แล้วแต่แผนที่เราตกลงซื้อ ซึ่งราคาก็มีตั้งแต่ถูกหลักพันต่อปี ไปจนถึงแบบหลักหมื่นต่อปี
  • รูปแบบของเว็บไซต์นั้นมีความหลากหลาย เจ้าของเว็บไซต์ควรเลือกรูปแบบโฮสติ้งให้เหมาะสมกับเนื้อหาและลักษณะของเว็บไซต์ 

ปัจจัยที่ต้องพิจารณาเมื่อเลือกบริการเว็บโฮสติ้ง

เมื่อเราพอเข้าใจและเห็นภาพเกี่ยวกับไอเดียของเว็บโฮสติ้งแล้ว ต่อไปก็มาดูปัจจัยที่ต้องนำมาพิจารณาตอนเลือกบริการเว็บโฮสติ้งกันบ้าง

1. ผู้ให้บริการ (Service provider)

ผู้ให้บริการนั้นทางที่ดีควรเลือกบริษัทที่มีตัวตนแน่นอนและมั่นคง หรือมีชื่อเสียงที่ดีมายาวนานได้ยิ่งดี บริษัทนั้นๆ ควรมีทีม Support ที่ให้บริการในการดูแล ตอบคำถามและให้คำปรึกษา แก้ไขปัญหาให้เราในกรณีที่มีเหตุขัดข้องได้ ซึ่งทำให้การเลือกผู้เช่าในประเทศนั้นตอบโจทย์มากกว่า เพราะสามารถสื่อสารกันได้อย่างทันท่วงที แต่แน่นอนว่ามีคนไทยส่วนหนึ่งที่ก็นิยมเช่าเว็บโฮสติ้งจากบริษัทต่างประเทศต่างๆ ที่มีชื่อเสียงอยู่เช่นกัน

อ่านต่อเรื่อง ผู้ให้บริการในประเทศ VS ต่างประเทศ

2. ระบบปฏิบัติการ (OS)

ระบบปฏิบัติการของเซิร์ฟเวอร์ที่เราเลือกใช้งานนั้นควรเหมาะสมกับภาษาที่เราใช้ในการสร้างเว็บไซต์ เช่น หากใช้ภาษา HTML และ PHP ก็ควรเลือกเป็น Linux Server ซึ่งเหมาะสมและมีราคาที่ถูกกว่า (เนื่องจากเป็นระบบเปิด ไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ ของ Windows) แต่ถ้าเป็นภาษา ASP หรือ ASP.net จะต้องใช้เว็บโฮสติ้งที่เป็น Windows Hosting ที่จะมีค่าใช้จ่ายในสูงว่า (เพราะมีลิขสิทธิ์ Windows)

3. พื้นที่การใช้งาน (Space) 

ตอนที่เราเลือกแพ็กเกจนั้น โดยมากผู้ให้บริการจะระบุเอาไว้ชัดเจนอยู่แล้วว่าจะให้พื้นที่การใช้งานกับเราเท่าไหร่ ซึ่งแน่นอนว่าก่อนตกลงเลือกแพ็กเกจกับผู้ให้บริการนั้นเราต้องทำความเข้าใจเว็บของเราเองก่อนว่าเราเป็นเว็บไซต์แบบไหน มีความต้องการที่จะใช้พื้นที่มากน้อยแค่ไหน แล้วจึงค่อยมาเลือกพื้นที่ให้พอดี เผื่อเหลือเผื่อขาดได้ แต่ไม่ใช้ว่าเช่าพื้นที่เยอะๆ จนเหลือไว้เกินความจำเป็น อย่าลืมว่าเราสามารถซื้อพื้นที่เพิ่มได้ในอนาคต

4. แบนด์วิธ (Bandwidth) 

แบนด์วิธ คือ ปริมาณในการรับส่งข้อมูลเข้าออก ซึ่งจะสัมพันธ์โดยตรงกับปริมาณผู้เข้าชมเว็บไซต์ของเรา ยิ่งมีผู้เข้าชมเยอะต่อวันจำนวนมาก การรับส่งข้อมูลก็จะยิ่งมากตามไปด้วย ซึ่งผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งของเราอาจจะให้แบนด์วิธมาแบบจำกัดในแต่ละเดือน มีลิมิต ถ้าเกิดลิมิตเว็บก็จะเกิดอาการแฮงค์ได้ ดังนั้น ควรสอบถามในเรื่องนี้ให้แน่ใจว่าเราจะได้แบนด์วิธลิมิตที่เท่าไหร่ จำกัดหรือไม่จำกัด แล้วมีค่าใช้จ่ายเพิ่มหรือไม่ เป็นต้น

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับแบนด์วิธ

5. ราคา (Price) 

แน่นอนว่าราคาเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่มีความสำคัญ แต่ละที่จะมีการเสนอราคาของบริการที่แตกต่างกันไปตามรายละเอียดในข้อเสนอของแต่ละแพ็กเกจ แต่การเลือกเช่าโฮสติ้งนั้น บางครั้งแพ็กเกจที่ถูกก็ไม่ได้ว่าดีเสมอไป การเสนอราคาต่ำมากๆ อาจมาพร้อมกับการใช้ซอร์ฟแวร์ที่เลี่ยงลิขสิทธิ์ หรือการให้บริการที่ไม่มีคุณภาพก็ได้ ราคาสามารถเป็นส่วนประกอบการตัดสินใจได้ เพราะเราควรได้ราคาที่สมเหตุสมผลกับบริการ แต่ไม่ใช่ข้อพิจารณาอันดับหนึ่ง

สรุป

จบไปแล้วกับปัจจัยทั้ง 5 ประเด็นที่ผู้อ่านสามารถนำไปเป็นแนวทางในการพิจารณาเลือกใช้บริการเว็บโฮสติ้ง ลองเปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสียดูกันไปทีละข้อๆ ว่าเจ้าไหน ข้อเสนอไหน แพ็กเกจไหนจะเหมาะสม ตรงกับการใช้งาน และจุดประสงค์ของเราเว็บไซต์ของเรามากที่สุดกันค่ะ

small_c_popup.png

บริการ Premium VPS และ Cloud Hosting เร็วกว่าด้วยเซิร์ฟเวอร์ในไทย

รับส่วนลด 50%

รับส่วนลด 50% ท้าให้ลอง VPS ที่ได้รับรีวิวบริการดีเยี่ยมสูงสุดใน Google Review