ปัญหาที่คนทำเว็บไซต์ต้องเจอนั่นก็คือปัญหาเว็บโหลดช้า เว็บล่ม ในวันนี้เราจึงจะมาแบ่งปันวิธีแก้ไขป้องกันปัญหาเว็บล่ม เว็บโหลดช้าให้ทุกคนถึง 10 วิธี
การทำเว็บไซต์ของตัวเอง จะว่าเป็นเรื่องง่ายก็ง่าย จะว่าเป็นเรื่องยากก็ยากเหมือนกัน ในยุคที่เทคโนโลยีคืบหน้าทุกวัน แน่นอนว่าทำการเว็บไซต์ก็ไม่ได้มากเกินความสามารถของคนๆ หนึ่ง แต่ความยากที่จะเกิดขึ้นนั้น คือการดูแลรักษาสิ่งที่เราสร้างมาต่างหาก แน่นอนว่าปัญหาอย่างหนึ่งที่คนทำเว็บไซต์จะต้องเคยเจอนั่นก็คือปัญหาเว็บโหลดช้าหรือเว็บล่มคนเข้าเยอะนั่นเอง
เรื่องนี้นอกจากจะเป็นปัญหาของผู้สร้างเองแล้ว ยังเป็นปัญหาจุกจิกสร้างความน่ารำคาญให้กับผู้ที่เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์อีกด้วย เรียกได้ว่าปัญหาเว็บล่มนี่เป็นปัญหายอดฮิตติดอันดับเลยทีเดียว ในวันนี้เราจึงจะมาแบ่งปันวิธีแก้ไขและป้องกันปัญหาเว็บล่มหรือเว็บโหลดช้าให้ทุกคนกัน ว่าแล้วก็มาดูวิธีจัดการกับเว็บล่มกันเลย
1. เลือก Web Hosting อย่างดี
การเลือกเว็บโฮสติ้งให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่เราคาดการณ์ว่าจะทำการเข้ามาในเว็บไซต์ของเรา เป็นสิ่งที่จำเป็นเป็นอย่างมาก เพราะการเลือกโฮสติ้งก็เหมือนกันการเลือกทำเลที่ตั้งของเว็บไซต์ เป็นสิ่งที่จะต้องทำการเลือกเป็นอย่างดี เพื่อที่ผู้คนจะได้เข้ามาใช้งานได้อย่างงายและไม่เกิดปัญหาเว็บล่มหรือโหลดช้า
โดยการเลือกเว็บโฮสติ้งนั้น เราจะต้องคำนึงถึงสิ่งต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นด้านราคาที่คุ้มค่าคุ้มราคา กลุ่มเป้าหมายว่าเป็นคนชาติใดเป็นส่วนใหญ่ หรือจนกระทั่งการซัพพอร์ตของตัวเว็บโฮสติ้งเองก็ตาม ทุกอย่างล้วนเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ แนะนำให้ทำการหาข้อมูลหรือสอบถามผู้ที่มีความรู้ก็จะดีเป็นอย่างยิ่ง เพราะหากเลือกเว็บโฮสติ้งผิดไป นึกเสียใจทีหลังก็ไม่อาจแก้ไขอะไรได้แล้ว
ลองเช็ค Premium VPS Hosting Packages จาก VPS Hispeed ที่นี่
2. ติดตั้งปลั๊กอินเท่าที่จำเป็น
ใน WordPress นั้น มีปลั๊กอินต่างๆ ให้เลือกใช้มากมาย ที่สำคัญก็คือแต่ละตัวต่างมีความน่าสนใจทั้งสิ้น แต่ WordPress นั้นก็เหมือนเครื่องคอมพิวเตอร์ ปลั๊กอินก็เทียบได้กับซอฟแวร์ต่างๆ ในคอมพิวเตอร์นั่นเอง แน่นอนว่าถ้าหากเรามีซอฟแวร์มากเกินไป เครื่องก็จะช้ากว่าปกติอย่างแน่นอน ด้วยเหตุผลนี้ การติดตั้งปลั๊กอินแค่เท่าที่จำเป็น จึงเป็นอีกตัวช่วยหนึ่งที่จะทำให้เว็บไซต์ของเราไม่หนักมากเกินไป เป็นการป้องกันปัญหาการโหลดหน้าเว็บช้าอีกวิธีหนึ่ง
อ่านต่อ: ปลั๊กอิน wordpress คือ? พร้อมแนะนำปลั๊กอิน 8 ตัวที่คุณควรมี
3. Theme ที่ดีไม่จำเป็นต้องเยอะ
Theme หรือความสวยงามเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อหน้าเว็บไซต์ของเราแน่นอนเพราะว่าหน้าตานั้นเป็นเรื่องที่สำคัญ แต่ถ้า Theme ที่เรานำมาใช้นั้น มีรายละเอียดเยอะจนเกินไป มีความซับซ้อนจนถึงรก ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ทำให้หน้าเว็บโหลดช้าได้ เพราะฉะนั้นจึงต้องท่องไว้อย่างสม่ำเสมอว่า Theme ที่ดี ไม่จำเป็นต้องเยอะ
4. ทำความรู้จัก Cache
Cache หรือแคชที่หลายๆ คนเรียก เป็นหนึ่งในตัวสำคัญของการโหลดหน้าเว็บช้าจนกระทั่งเว็บล่ม หากให้อธิบายง่ายๆ แคชก็คือการสร้างหน้าเว็บนั่นเอง เป็นการเก็บข้อมูลที่เราเคยเปิดใช้งานมาก่อนหน้านี้ ให้พร้อมนำมาใช้งานใหม่ในครั้งต่อไปที่เรากด โดยถ้ามีแคชเป็นจำนวนมาก นอกจากจะทำให้หนักเครื่องแล้ว เว็บที่โหลดก็จะขึ้นช้าอีกด้วย สิ่งที่ควรทำคือการกำจัดแคชสม่ำเสมอ
5. ปลั๊กอิน Cache ที่ห้ามขาด
ในการใช้ WordPress จะมีแคชมากมายเกิดขึ้น ปลั๊กอินที่จะเข้ามาช่วยจึงจำเป็นเช่นกัน อย่างปลั๊กอินแคชชิ่งต่างๆ ที่จะเข้ามาช่วยกำจัดแคชนั่นเอง โดยส่วนใหญ่แล้วปลั๊กอินนี้จะใช้งานง่ายๆ ไม่ซับซ้อน เพียงแค่ดาวน์โหลดและติ๊กตามช่องที่ต้องการก็สามารถใช้งานได้แล้ว รับรองเลยว่าใช้แล้วโหลดเร็วโหลดแรงกว่าเดิมเป็นอย่างแน่นอน นอกจากนี้ยังมีปลั๊กอินอื่นๆ อีกมากมายที่น่าสนใจใช้งาน สำหรับใครที่กำลังคิดจะลองโหลด ก็ต้องอย่าลืมที่จะศึกษาหาข้อมูลเป็นอย่างดีก่อนติดตั้ง เพราะหากติดตั้งเยอะเกินไป ก็จะวนกลับไปที่เดิมอย่างอาการเว็บโหลดช้าได้
6. ปลั๊กอินเก็บสถิติตัวอันตรายทำเว็บโหลดช้า
ปลั๊กอินอีกตัวที่เป็นสาเหตุทำให้เว็บโหลดช้าก็คือปลั๊กอินเก็บสถิติต่างๆ แน่นอนว่าผู้สร้างก็ต้องการเก็บข้อมูลอยู่แล้ว แต่การใช้ปลั๊กอินเก็บสถิติโดยเฉพาะ มักจะเป็นปลั๊กอินที่หนักจนเกินไป การหันมาใช้ปลั๊กอินสารพัดประโยชน์ ปลั๊กอินที่สามารถทำได้หลายอย่างในปลั๊กอินเดียวเลยเป็นทางเลือกที่ดีกว่า หรือถ้าหากต้องการเก็บอย่างละเอียด อาจจะต้องใช้เว็บอื่นๆ ภายนอกมาเชื่อมต่อก็ไม่เสียหาย โดยเพื่อนๆ สามารถเลือกได้เลยว่าจะใช้เว็บใดบ้าง เพราะในปัจจุบันมีหลายเว็บด้วยกันที่ให้บริการด้านนี้ ทั้งแบบฟรีและแบบเสียค่าบริการ
7. บีบอัดรูปภาพ ลดขนาดไฟล์
ขนาดของรูปภาพที่ใช้นำมาประกอบบทความหรือตกแต่งเว็บไซต์ เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ทำให้เว็บโหลดช้าและล่มได้ เมื่อมีคนเข้าชมเว็บเป็นจำนวนมาก โฮสต์ทำงานหนักเกินไป ก็อาจจะโหลดไม่ขึ้นถ้าหากรูปภาพนั้นมีขนาดที่ใหญ่ การบีบอัดรูปภาพ การลดขนาดไฟล์ต่างๆ ก่อนจะใส่ลงไปก็เป็นขั้นตอนที่ข้ามไม่ได้เช่นกัน โดยผู้สร้างสามารถเลือกได้ว่าจะใช้การบีบอัดรูปภาพผ่านเว็บอื่นแล้วค่อยนำมาใช้ต่อ หรือจะโหลดปลั๊กอิน WordPress ที่เน้นไปในด้านบีบอัดรูปภาพก็ได้ทั้งสิ้น สำหรับปลั๊กอินนี้เป็นที่นิยมใช้เลยทีเดียว เพราะเรียกได้ว่าเห็นผล เป็นการช่วยเหลือและจัดการเว็บที่ดีอย่างหนึ่ง
หรือคลิกที่นี้เพื่อใช้ Tool ออนไลน์ในการที่ช่วยให้คุณบีบอัดรูปภาพได้ง่ายก่อนจะอัพโหลดลงเว็บไซต์
8. ใช้ CDN สำหรับ WordPress
การใช้ CDN หรือ Content Delivery Network ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับเว็บไซต์ที่มีการเข้าเยี่ยมชมจากต่างชาติเป็นจำนวนมาก จุดเริ่มต้นก่อนที่จะมาใช้ CDN มักจะมาจากชาวต่างชาติที่ต้องการเปิดเว็บของเราขณะอยู่ต่างแดน แต่เว็บไซต์เราดันมีโฮสต์อยู่ที่ประเทศไทยเพียงที่เดียว การจะเปิดข้อมูลและทำการส่งต่อไปประเทศไกลๆ จึงทำให้เกิดความล่าช้าเพราะต้องผ่าน WordPress เราโดยตรง บางรายถึงขนาดโหลดไม่ขึ้นเลยทีเดียว
CDN จึงเป็นตัวเข้ามาช่วย ทำให้เซิร์ฟเวอร์ของเราถูกใช้งานน้อยลง ข้อมูลไม่ได้ถูกวิ่งผ่านเข้ามาที่ WordPress ของเราโดยตรงเหมือนแต่ก่อน แต่ถูกวิ่งเข้าไปที่เว็บไซต์ไฟล์แคชที่เจ้านั้นๆ เก็บไว้แทนนั่นเอง
9. ตรวจสอบเว็บไซต์ของเราอย่างสม่ำเสมอ
หลายๆ คนอาจจะไม่มีการอัพเดตเว็บไซต์ของตนเองหรือยุ่งจนละเลยหลังบ้านไป ไม่ทำการตรวจสอบให้ดี สำหรับกรณีนี้ก็เหมือนการที่เรามีบ้านแล้วไม่ทำความสะอาด แน่นอนว่าถ้าปล่อยให้รก ก็มีแต่จะสร้างฝุ่น ก่อให้เกิดความรำคาญกับทั้งตัวเราเองและผู้อื่นที่เข้ามาอาศัย เมื่อทุกอย่างรกคนอื่นก็ไม่อยากเข้ามาเยี่ยมชมอีกด้วย เพราะฉะนั้นเว็บไซต์ของเราจึงต้องถูกตรวจสอบสม่ำเสมอ มีการอัพเดตและตรวจดูว่ามีปลั๊กอินตัวใดที่เกิดปัญหาหรือไม่ หากเกิดปัญหาจะได้รีบแก้ได้อย่างทันที แคชต่างๆ ก็จะต้องถูกล้างเพื่อทำให้ระบบรันได้คล่องตัวขึ้น เป็นพื้นฐานง่ายๆ อีกข้อหนึ่งที่ผู้ทำเว็บไซต์ควรปฏิบัติก็ว่าได้
10. ทำรีพอร์ท รู้จักสังเกตุความเปลี่ยนแปลงของ Traffic ภายในเว็บไซต์
เมื่อหลายข้อก่อนเราได้ทำการพูดถึงปลั๊กอินเก็บสถิติหรือเว็บไซต์เก็บสถิติที่จะเข้ามาช่วยเหลือเว็บไซต์ของเราให้โหลดได้อย่างรวดเร็วกันแล้ว ในข้อนี้เราจึงมาเจาะลึกลงไปอีกหน่อย นั่นก็คือการนำข้อมูลต่างๆ มาทำรีพอร์ท มองหาความเปลี่ยนแปลงและ Traffic ภายในเว็บไซต์นั่นเอง การทำสรุปและสังเกตุในสิ่งเหล่านี้จะช่วยทำให้เรารู้ได้ว่าเทรนด์ที่กำลังมาแรงและหัวข้อใดบ้างที่ประสบความสำเร็จในช่วงเวลาดังกล่าว อีกทั้งเรายังสามารถหาต้นตอของอาการเว็บโหลดช้าหรือเว็บล่มจากการดู Traffic ภายในเว็บไซต์ของเราได้อีกด้วย เป็นอีกขั้นตอนหนึ่งในการตรวจสอบและป้องกันได้เป็นอย่างดี
จบกันไปแล้วกับ 10 ข้อที่จะทำให้คุณบอกลาปัญหาเว็บล่ม เว็บโหลดช้ากันไปได้อย่างแน่นอน ทั้งหมดนี้บอกเลยว่าล้วนแต่เป็นสิ่งสำคัญที่ห้ามละเลย การดูแลอย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้จริงๆ ถ้าทุกคนทำตามคำแนะนำต่างๆ ด้านบนกันครบ เว็บไซต์ก็จะไม่ต้องเผชิญปัญหาเว็บโหลดไม่ขึ้นเมื่อคนเข้าเยอะ เตรียมบอกลาคำร้องเรียนจากผู้ใช้งานกันได้เลย