รู้แล้วจะต้องร้องอ๋อ! Bandwidth คืออะไร สำคัญยังไงกับโลกยุคดิจิทัล!

เพื่อนๆ เคยคลิกเข้าไปเว็บไซต์แล้วมันกระตุก หรือใช้งานระบบอินเทอร์เน็ตแล้วพบว่ามันค้างจนหงุดหงิด ทั้งๆ ที่เราว่าอินเทอร์เน็ตที่เราใช้ก็เร็วแล้วบ้างมั้ย นั่นก็แสดงว่าเกิดจากการเลือกแบนด์วิธ (Bandwidth) ไม่เหมาะสมกับข้อมูลในเว็บไซต์นั่นเอง

สำหรับใครที่มีธุรกิจ คิดจะเปิดเว็บไซต์เป็นของตัวเองหรือทำธุรกิจที่ให้บริการที่มีความเกี่ยวข้องกับระบบอินเทอร์เน็ต แบนด์วิธ คือสิ่งที่ต้องศึกษาและห้ามมองข้ามเป็นอันขาด เพราะมันส่งผลต่อธุรกิจของเราเป็นอย่างมาก วันนี้ ทุกคนจะได้รู้ชัดกันไปเลยว่าแบนด์วิธมันคืออะไร แล้วควรใช้ขนาดเท่าไหร่ถึงจะเหมาะสมกับรูปแบบเว็บไซต์ของตัวเอง เพื่อไม่เกิดปัญหาต่างๆ ตามมาภายหลัง

 

มารู้จักกันก่อนว่าแบนด์วิธ คืออะไร?

 

– Bandwidth คืออะไร?

Bandwidth หมายถึง ตัวกลางที่ใช้ในการส่งสารข้อมูลจากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่งผ่านสายใยแก้ว ถ้าเราจะสร้างเว็บไซต์ ก็ต้องคำนึงให้ดีๆ ว่าจะมีคนเข้ามาดูเว็บไซต์เรามากน้อยขนาดไหน หากคิดว่ายังไงก็ต้องเยอะแน่ๆ ก็ควรเลือกเช่าพื้นที่เว็บโฮสติ้งที่เค้ามีให้เราเลือกเป็นแบบไม่จำกัดปริมาณการรับส่งข้อมูล เพื่อให้ลูกค้าสามารถเข้ามาเยี่ยมชมหน้าเว็บหรือใช้บริการได้โดยไม่เกิดความหัวเสีย

หรือถ้าจะทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเกี่ยวโยงอินเทอร์เน็ต อย่างเช่น นำมาใช้กับระบบกล้องวงจรปิด กล้องตัวหนึ่งต้องใช้แบนด์วิธประมาณ 2Mbps สมมติว่าเรามีกล้อง 10 ตัว แบนด์วิธที่เราต้องใช้ก็คือ 20 Mbps นั่นเอง

– หลักการทำงานของ Bandwidth

ลองนึกภาพตามง่ายๆ นึกถึงท่อน้ำประปาขนาดใหญ่ของหมู่บ้าน ที่ไว้ส่งน้ำลำเลียงไปตามบ้านแต่ละหลัง ยิ่งท่อน้ำเล็ก ก็ทำให้น้ำไหลไปได้ช้าและติดขัด แต่ถ้ามีท่อน้ำขนาดใหญ่ ก็จะทำให้ลื่นไหลได้แบบสบายๆ และลูกบ้านก็ได้รับน้ำไวกว่า

– Bandwidth สำคัญยังไง

แบนด์วิธมีความสำคัญกับโลกอินเทอร์เน็ตและโลกแห่งการรับส่งข้อมูลเป็นอย่างมาก เพราะในการรับส่งข้อมูลนั้นจำเป็นต้องใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ ซึ่งโดยมากในปัจจุบัน แบนด์วิธที่เลือกใช้มักเป็นแบบเมกะบิตต่อวินาที หรือเป็นหน่วยที่ใหญ่ที่สุด เพื่อให้การส่งผ่านข้อมูลลื่นไหลได้โดยไม่เกิดการติดขัดนั่นเอง

 

คำนวณ Bandwidth ยังไงให้เหมาะสมกับเว็บไซต์?

 

– การคำนวณหา Bandwidth

หลักการคำนวณความต้องการของแบนด์วิธต่อเว็บไซต์ของเรานั้น ง่ายๆ เลย ให้เราเอา (จำนวนผู้เข้าชมรายเดือน) X (ขนาดหน้าเว็บไซต์โดยเฉลี่ยของเรา) X (จำนวนผู้ชมเฉลี่ยต่อวัน) X (จำนวนวันใน 1 เดือน) X (ปัจจัยซ้ำซ้อนโดยมีค่าตั้งแต่ 1.3-1.8)

– แล้วถ้าเป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการดาวน์โหลดด้วยล่ะ?

สำหรับเว็บไซต์ที่เปิดให้ผู้ชมมีการดาวน์โหลดไฟล์ด้วยนั้น วิธีคำนวณก็ง่ายๆ ให้เอา (จำนวนหน้าเว็บเฉลี่ยที่ผู้ชมเข้าดู X ขนาดหน้าเว็บโดยเฉลี่ยของเรา X จำนวนผู้ชมเฉลี่ยต่อวัน) + (จำนวนดาวน์โหลดต่อวันโดยเฉลี่ย X ขนาดไฟล์เฉลี่ย) X (จำนวนวันใน 1 เดือน) X (ปัจจัยที่ซ้ำซ้อนโดยมีค่าตั้งแต่ 1.3-1.8)

– เลือกใช้โฮสติ้งให้เหมาะสมกับขนาดแบนด์วิธ

ตอนที่เราเลือกเช่าโฮสติ้งต้องดูก่อนเลยว่า ปริมาณแบนด์วิธที่เค้าให้เราต้องมีมากกว่า 40 เท่าของพื้นที่ที่เช่าโฮสติ้งอยู่นะ ถ้าน้อยกว่านี้ล่ะก็ มีปัญหาแน่นอน

สมมติว่าเว็บไซต์ของเรามี 5 หน้า ขนาดเว็บไซต์โดยเฉลี่ยแต่ละหน้าอยู่ที่ 70 KB แสดงว่าขนาดเว็บไซต์ทั้งหมดของเราคือ 350 KB และใน 1 เดือนจะมีคนเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์เราเยอะขนาดไหน สมมติว่าประมาณ 3,000 คน จำนวนขนาดแบนด์วิธที่เราต้องการต่อเดือนก็เท่ากับ 2.1 GB ต่อเดือนนั่นเอง

 

ทำยังไง ถ้าตกอยู่ในปัญหา Bandwidth Limit Exceeded

 

อย่างที่ได้เกริ่นกันไปแล้วในตอนต้น หากจำนวนแบนด์วิธของเราไม่เหมาะสมกับขนาดผู้เข้าชมเว็บไซต์ก็จะทำให้เกิดปัญหา Bandwidth เต็มตามมาได้นั่นเอง

 

1. ก่อนอื่นให้ติดต่อฝ่าย Support

รีบติดต่อฝ่าย Support ของผู้ให้บริการเช่าเว็บไซต์ของเราโดยด่วน เพื่อให้เปิด Account ให้เราชั่วคราวก่อน ซึ่งโดยปกติแล้วจะใช้งานได้ 1 วัน แต่ถ้าแบนด์วิธยังเกินลิมิตอีกล่ะก็ ทีนี้ระบบก็จะระงับ Account ของเราทันที

2. เช็กหาปัญหา เพราะอะไรแบนด์วิธเราถึงเต็ม

เข้าไปที่ระบบจัดการเว็บโฮสติ้งที่เมนู Site Summary / Statistics / Logs แล้วคลิกที่ชื่อโดเมนเพื่อตรวจเช็กปัญหาว่าเพราะอะไร Bandwidth เราถึงเต็ม โดยหลักๆ แล้วมักเกิดจาก

มีผู้เข้าชมเว็บไซต์เยอะเกิน: แก้ไขโดยเพิ่มแพ็คเกจของเว็บโฮสติ้ง หรือซื้อแบนด์วิธเพิ่ม

ไฟล์บนหน้าเว็บไซต์ใหญ่เกินไป: ทำการลดขนาดไฟล์ลงซะ ซึ่งไฟล์ควรมีขนาดไม่เกิน 500 KB หรือถ้าลดไม่ได้จริงๆ ก็ให้อัปแพ็คเกจของเว็บโฮสติ้งแทน

ถูกดึงไฟล์ไปใช้ในเว็บไซต์อื่น: แก้ไขด้วยการเปลี่ยนชื่อไฟล์ที่ถูกดึงไปใช้ และแจ้งไปยังเจ้าของเว็บไซต์ที่ดึงไฟล์เราไปให้ลบไฟล์ออก เพราะถือว่าไม่ได้รับการอนุญาตจากเราซะก่อน

มีการดาวน์โหลดหรืออัปโหลดไฟล์ขนาดใหญ่: แนะนำให้ฝากไฟล์กับเว็บไซต์ที่รับฝากไฟล์ แล้วค่อยเอา Link มาเปิดให้แชร์แทนจะดีกว่า

ติดไวรัส: อันดับแรกตรวจหาดูก่อนว่าในหน้าเว็บของเรามี code อะไรที่ใช้งานมากเกินไปรึเปล่า ถ้ามีก็ลบออกเลย แล้วเปลี่ยน permission ของไฟล์นั้นให้เป็น 755

เพียงเท่านี้ การให้บริการข้อมูลในเว็บไซต์ของเราก็จะไม่ติดขัดและพบกับปัญหาร้องเรียนตามมาอีกต่อไป สำหรับใครที่ไม่เคยคิดคำนึงถึงในส่วนนี้มาก่อนเลย ต่อจากนี้ไม่ได้แล้วนะ โดยเฉพาะเว็บไซต์ที่มีผู้มาเข้าชมเยอะมากๆ หากเราเลือกขนาดแบนด์วิธไม่เหมาะสม อาจส่งผลเสียตามมาได้ง่ายๆ จากปกติมีคนเข้ามาเยี่ยมชมหน้าเว็บเป็นหมื่น อาจจะลดเหลือหลักร้อยไปเลยก็มี

small_c_popup.png

บริการ Premium VPS และ Cloud Hosting เร็วกว่าด้วยเซิร์ฟเวอร์ในไทย

รับส่วนลด 50%

รับส่วนลด 50% ท้าให้ลอง VPS ที่ได้รับรีวิวบริการดีเยี่ยมสูงสุดใน Google Review