เชื่อว่าเมื่อเอ่ยถึงระบบปฎิบัติการ Linux หลายคนคงจะเคยได้ยินผ่านหูมาแล้วบ้าง บางคนอาจจะไม่รู้จักเลย แต่นักโปรแกรมเมอร์จะคุ้นชินหรือรู้จักมันเป็นอย่างดี ดังนั้นวันนี้เราจะมาคุยเรื่องเจ้าตัว Linux กันว่ามันคืออะไร ใช้แบบไหน ต้องทำคำสั่งล่ะจะจัดการอย่างไรได้บ้าง เอาเป็นว่าผู้ดูแล Server มือใหม่ป้ายแดงไม่ต้องกังวลแต่อย่างไร ไปเรียนรู้พร้อมๆ กันเลยดีกว่า
Linux สามารถออกเสียงได้ว่าลินุกซ์ ไลนักซ์ หรือลินุกซ์ ชื่อไหนก็ได้ก็คือโปรแกรมเดียวกันแล้วแต่คนจะถนัด คือเป็นระบบปฎิบัติการชนิดหนึ่งเช่นเดียวกับ windows ซึ่งมันมีความสามารถที่สูงในการบริหารระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ลักษณะของการทำงานจะคล้ายกับ ดอส ไมโครซอฟต์วินโดวส์ หรือยูนิกซ์ แต่จะแตกต่างที่ Linux มีความยืดหยุ่นในการทำงานมากกว่าเท่านั้นเอง รวมไปถึงเป็นระบบปฏิบัติการประเภทแบบแจกฟรี ดังนั้นผู้ใช้งานก็สามารถหยิบไปใช้พัฒนา ปรับปรุง หรือแก้ไขปัญหาระหว่างที่ใช้งานได้อย่างทันท่วงที เพราะมีการอัปเดตเพิ่มความสามารถอยู่ตลอดเวลา จึงทำให้ Linux ได้รับการพูดถึงและถูกนำมาใช้บ่อยครั้งในแวดวงนักโปรแกรมเมอร์ หรือผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ในเมืองไทยมากขึ้น และที่ใช้งานเยอะมากขึ้นเพราะเจ้าตัว windows เองนั่นแหละที่ได้มีมาตรการเรื่องลิขสิทธิ์อย่างเข้มข้นมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้มี windows เถื่อนเกลื่อนในท้องตลาดอย่างที่เรารู้กัน แต่จริงๆ แล้วเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยปลอดภัยสักเท่าไหร่นัก เมื่อเป็นเช่นนี้ Linux จึงถูกพัฒนาและถูกพิจารณาให้นำเข้ามาใช้งานมากขึ้นนั่นเอง
แล้วข้อดีของระบบปฏิบัติการ Linux มีอะไรบ้าง?
คนที่ไม่เคยใช้มาก่อนจะไม่ชินมือและรู้สึกว่าเป็นโปรแกรมที่ใช้ยากมากๆ แต่ลองมาดูข้อดีเสียก่อนอาจจะทำให้อยากรู้จักเพิ่มเติม
- ไม่ต้องกังวลเรื่องไวรัส ใครก็กลัวไวรัสเข้าเครื่องทั้งนั้น แต่โปรแกรมดังกล่าวจะไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องนี้สักเท่าไหร่ เนื่องจากระบบจะทำการอัปเดตตัวเองอยู่ตลอดเวลา ทำให้มาตรการรักษาความปลอดภัยมากขึ้นตามไปด้วย
- เป็นโปรแกรมเปิด แบบ open source ที่ใครก็นำไปใช้ได้อย่างอิสระ ไม่เสียเงินแม้แต่บาทเดียว
- เป็นโปรแกรมที่ได้รับลิขสิทธิ์อย่างถูกต้อง ไม่ต้องกลัวโปรแกรมเถื่อนกันอีกต่อไปแล้วเพื่อนๆ
- เหมาะสำหรับนักพัฒนาโปรแกรม หรือซอฟต์แวร์ ชอบคิดค้นสร้างสรรค์ไอเดียใหม่ๆ อยู่เสมอ ลง Linux เอาไว้ยังไงก็คุ้ม
- ขั้นตอนการติดตั้งไม่ยุ่งยาก ง่าย ใช้เวลาไม่นาน อีกทั้งมีเสถียรภาพสูงและปลอดภัยเสมอ
อันนี้แค่ยกตัวอย่างมาเป็นบางข้อเท่านั้น จริงๆ แล้วข้อดีของ Linux มีอีกเยอะมากมาย ไปลองใช้กันก่อนแล้วถึงจะรู้ ถัดมาเมื่อรู้กันแล้วว่า Linux คืออะไร มีข้อดีอะไรแล้วบ้าง ทีนี้การจัดการ Linux commands ของผู้ดูแล Server เป็นสิ่งที่จำเป็นไม่ใช่น้อยเพราะต้องรู้จักการใช้คำสั่งหรือออกคำสั่งกับมันด้วย ดังนั้นจึงนำคำสั่ง Linux พื้นฐานสำหรับผู้ดูแล Server มาฝากมาแนะนำเพื่อนๆ กัน ซึ่งใครที่ใช้ Mac หรือใช้ Windows ก็สามารถลองใช้บน powershell ได้เลย ไปเริ่มกันเลย
1. Is
เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับแสดงแฟ้มข้อมูล มากจากคำว่า list รูปแบบคำสั่ง ls [option] [file] โดย option ที่มักใช้กันใน ls คือ l จะแสดงผลลัพธ์แบบ Long Format ซึ่งจะแสดง Permission ของแฟ้ม, a จะแสดงแฟ้มข้อมูลทั้งหมด, F จะแสดง หลัง Directory และหลังแฟ้มข้อมูลที่ execute ได้ ตัวอย่างการใช้งานจะเป็น ls –l ls -al ls -F
2. cd
คำสั่ง Change Directory รูบแบบการใช้งาน cd [directory]
ตัวอย่างก็คือ cd /etc [Enter] ไปDirectory etc cd ..[Enter] ย้ายไป Directory อีก 1 ชั้น
3. passwd
คำสั่งกำหนดและแก้ไขรหัสผ่านของ User รูปแบบการใช้งาน passwd [Username]
ตัวอย่างก็คือ passwd user1 (กำหนดรหัสผ่านให้ User1 ถ้าไม่พิมพ์ชื่อ User ระบบ Unix จะหมายความว่าแก้ไขรหัสผ่านของคนที่ Login เข้ามา)
4. bc
คำสั่งเรียกใช้โปรแกรมคำนวณเลข รูปแบบการใช้งาน bc [-lwsqv] [option] [file]
ตัวอย่างก็คือ bc [Enter] 1+2 [Enter] 1^2 [Enter] a=3 [Enter] b=4 [Enter] a*b [Enter] x=2;y=5;x+y[Enter] [Ctrl-d] เพื่อออก แต่เดี๋ยวก่อนคำสั่งนี้จะใช้ได้ต้อง Install Packet ลงไปก่อนเท่านั้น
5. C Compiler
คำสั่ง Compile ภาษา C (คล้ายกับคำสั่ง Type ของ DOS) รูบแบบการใช้งาน cc [filename]
ตัวอย่างก็คือ cc /home/user1/industry.c จะสั่งให้ระบบ Compile ภาษา C
ไฟล์ชื่อ industry.c ที่ Directory /home/user1
6. chown
คำสั่ง Change Owner (เป็นการเปลี่ยนเจ้าของไฟล์) รูบแบบการใช้งาน chown [ชื่อเจ้าของไฟล์] (ชื่อ File)
ตัวอย่างก็คือ chown user1 filename คือเปลี่ยนเจ้าของไฟล์ชื่อ filename เป็น User1
chown -R user1.root dirname คือเปลี่ยนทั้งเจ้าของไฟล์และกลุ่มไปพร้อมกันทุกไฟล์ใน Sub dirname.
7. date
ใช้แสดง วันที่ และ เวลา ตัวอย่างก็คือ date 17 May 2004
8. mesg
mesg ดู status การรับการติดต่อของ terminal
mesg y เปิดให้ terminal สามารถรับการติดต่อได้
mesg n ปิดไม่ให้ terminal สามารถรับการติดต่อได้
9. emacs
คำสั่ง emacs ของระบบ Unix, Linux (โปรแกรมแก้ไขข้อความใน Text file ) รูปแบบการใช้งาน emacs (fileName)
ตัวอย่างก็คือ emacs /home/user/test (help กด Ctrl – h ; ออกกด Ctrl – x Ctrl – c)
10. fsck
คำสั่ง fsck (เป็นคำสั่งตรวจสอบและซ่อมแซม Linux file system เหมือนกับคำสั่ง Scandisk ของ Dos)
รูปแบบการใช้งาน fsck [option] ตัวอย่างก็คือ /sbin/fsck -a /dev/hd1
นี่เป็นตัวอย่างเพียง 10 ข้อเท่านั้น เรียกได้ว่าเป็นพื้นฐานที่เอามาแนะนำและอยากให้ผู้ดูแล Server มือใหม่ได้ลองหัดใช้กัน ใครที่รู้สึกว่ายากให้ลองค่อยเป็นค่อยไปทีละขั้นตอน จะได้ไม่สับสน แต่หากศึกษาเพิ่มเติม Linux ยังมีความสามารถอีกหลากหลายที่ไม่ควรพลาด อย่างเช่นระบบเกมออนไลน์ W88 ต้องใช้เวลาศึกษาพอสมควร แต่ทั้งนี้ก็ต้องรู้การทำคำสั่งด้วย ลองนำไปใช้ดูคุณจะเข้าใจ Linux มากขึ้น